เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงจำนวนสมาชิกในครอบครัว บอกความเหมือน/ความต่างของครอบครัวตนเองและครอบครัวของปลาได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
22 – 26  .. 59
โจทย์ : ประเภท/องค์ประกอบ(สมาชิกในครอบครัว)
Key Questions :
- ครอบครัวของนักเรียนมีสมาชิกทั้งหมดกี่คน และมีใครบ้าง?
- นักเรียนคิดว่าครอบครัวของคนกับครอบครัวของปลาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms : ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวบอกความเหมือนความต่างของสมาชิกในครอบครัว
Wall  Thinking :  ประดิษฐ์กรอบรูปหรรษา
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ประดิษฐ์กรอบรูปหรรษา
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “ครอบครัวใหญ่ , ทำไมแม่ถึงรักผมละครับ , ครอบครัวมีสุข , รักของพ่อนั้นนิรันดร , พ่อคาร์ แม่คาร์ฟ ”
- เพลง “บ้านของฉัน”
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :  
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ครอบครัวใหญ่” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ครอบครัว ของนักเรียน และ ครอบครัว ป.ปลาตากลม
- โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานมีใครบ้าง แต่ละคนทำหน้าที่อะไร”
เชื่อม :
-  ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานเรื่อง “ครอบครัวใหญ่”
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
 “ นักเรียนคิดว่าพี่ปลามีครอบครัวหรือไม่
เชื่อม ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“ ถ้ามีนักเรียนคิดว่าครอบครัวพี่ปลาจะมีใครบ้าง? ”
 ใช้  : ภาพต่อเติมภาพระบายสีจากนิทาน

วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจแหล่งน้ำที่มีปลาอาศัยอยู่และสิ่งมีชีวิตรอบบริเวณโรงเรียน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ครอบครัวมีสุข”  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องสมาชิกในครอบครัว
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “เกิดอะไรขึ้น,นักเรียนรู้สึกอย่างไร, นักเรียนคิดว่านักเรียนเหมือนใครในนิทาน? ”
เชื่อม : และนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าครอบครัวพี่ปลามีใครบ้าง คิดว่าเหมือนหรือต่างจากครอบครัวของนักเรียนอย่างไร?”
เชื่อม : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในครอบครัวของนักเรียนมีใครบ้าง แต่ละคนทำหน้าที่อะไร? ”
ใช้  : ปั้นดินน้ำมันครอบครัวของหนู

          วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )     
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาเมื่อวาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “บ้านของฉัน”
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในเพลงที่นักเรียนร้องจบไปมีใครอยู่ในเพลงบ้าง , นักเรียนรู้สึกอย่างไร? ”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับเพลง”บ้านของฉัน”
เชื่อม : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าทุกคนไม่มีครอบครัว? ”
ใช้ : ใบงานภาพพิมพ์มือสร้างสรรค์

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง : 
- ครูและนักเรียนร่วมกัน “ร้องเพลงบ้านของฉัน”
- ครูเล่านิทานเรื่อง “พ่อคาร์ฟ แม่คาร์ฟ” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่บุคคลในครอบครัว
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “เกิดอะไรขึ้น , นักเรียนรู้รึกอย่างไรบ้าง , แล้วถ้าเป็นนักเรียนจะทำอย่างไร? ”
เชื่อม : 
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับนิทานเรื่อง พ่อคาร์ฟแม่คาร์ฟ”
ชง :
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ ทำไมทุกคนถึงรักคุณพ่อ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับพ่อของนักเรียนและพ่อของพี่ปลาว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ใช้  : ประดิษฐ์กรอบรูปหรรษา

วันศุกร์( 1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ทำไมแม่ถึงรักผมละครับ ” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ความรักของบุคคลในครอบครัว
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานมีตัวละครใครบ้าง นักเรียนอยากเป็นใคร เพราะอะไร?”
เชื่อม :  นักเรียนคิดว่าทุกคนในครอบครัวของนักเรียนและครอบครัวของพี่ปลามีความสำคัญหรือไม่? ”
ใช้ นักเรียน Show and Learn งานประดิษฐ์กรอบรูปหรรษา
ภาระงาน
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
แสดงความคิดเห็นประเภทองค์ประกอบ(สมาชิกในครอบครัว)
ชิ้นงาน
- ใบงานภาพพิมพ์มือสร้างสรรค์
- ปั้นดินน้ำมันครอบครัวของหนู
-วาดภาพวาดภาพต่อเติมภาพระบายสีจากนิทาน
- ประดิษฐ์กรอบรูปหรรษา






ความรู้ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงจำนวนสมาชิกในครอบครัว บอกความเหมือน/ความต่างของครอบครัวตนเองและครอบครัวของปลาได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้

ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้
- การคิดสร้างสรรค์ทำชิ้นงาน/ภาระงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



\













































































































ภาพกิจกรรม

















ภาพชิ้นงาน 










1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังสอน

    ในสัปดาห์ที่ 3 น้องๆอนุบาล 1 ได้เรียนรู้เรื่ององค์ประกอบของครอบครัว สมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง น้องทุกคนมาสามารถตอยคำถามได้อย่างยอดเยี่ยม และคุณครูและน้องๆ ได้เดินสำรวจแหล่งน้ำรอบๆ บริเวณโรงเรียน จุดที่แรกบริเวณข้างบ้านที่ ม1 ครูตั้งคำถาม เด็กๆ เห็นอะไรที่อยู่ในนาข้าวบ้าง น้องศิน : เห็นเขียดกำลังกระโดดอยู่ น้องแหนม : เห็นไข่หอยเชอรี่สีชมพูเกาะบนต้นข้าว ครูตั้งคำถาม เด็กๆ คิดว่าในนามีพี่ปลาอยู่ไหม น้องดาว : ในพี่นาไม่มีน้ำก็เลยไม่มีพี่ปลา
    น้องรัก : พี่ปลาต้องอยู้ในน้ำ จุดที่ 2 บ่อข้างบ้านพี่ ม.3 ครูตั้งคำถาม เด็กๆ คิดว่าทำไมมีพี่ปลาตัวเล็กกับพี่ปลาตัวใหญ่ น้องนมะ : เพราะว่ามีพ่อพี่ปลา แม่พี่ปลา และก็ลูกพี่ปลาครับ น้องแหนม : ตัวใหญ่จะเป็นพ่อกับแม่พี่ปลา ตัวเล็กจะเป็นลูกพี่ปลา จุดที่ 3 บ่ปลาดุกหลังบ้านพี่ ม.2 น้องๆ หลายคนรู้จักและเคยเห็นปลาดุก น้องพลอย : รู้ว่าปลาดุกที่เราเลี้ยงจะกินอาหารเป็นเม็ดเพราะที่บ้านหนูเลี้ยงปลาดุกค่ะ น้องศิน : พี่ปลาดุกมีหนวดไว้ป้องกันตัว น้องเนส : ทำไมบ่อน้ำพี่ปลาดุกขุ่นจังเลยครับ น้องนั่น : พี่ปลาดุกชอบอนู่ในน้ำสะอาดหรือครับ จุดที่ 4 บ่น้ำข้างโรงอาหาร เนื่องจากไม่มีฝนตกหลายวัน จึกทำให้บ่อน้ำตรงนี้แห้งสนิด สาหร่ายในบ่อก็เฉาตาย ครูตั้งคำถาม เด็กๆ คิดว่าถ้าไม่มีน้ำพี่ปลาจะไปอยู่ที่ไหน น้องกันยา : ถ้าไม่มีน้ำพี่ปลาก็จะตาย น้องศิน : พระอาทิตย์ทำให้ปลาตาย เพราะพระอาทิตย์ทำให้น้ำแห้ง พอน้ำแห้งปลาก็เลยตาย

    ตลอดทั้งสัปดาห์ น้องๆ เกิดความงอกงานทางความคิด สามารถตอบคำถามได้ตรงประเด็นมากขึ้น สนทนาแลกเปลี่ยนส่งที่พบเป็น ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีน้องสนุกกับการเดินสำรวจแห่งน้ำที่มีอยู่ในบริเวณโรงเรียนและบอกชนิดของปลาได้ น้องๆ ทุกคนทำได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ